กระบวนการตรวจสอบสถานะสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

กระบวนการตรวจสอบสถานะสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของกลุ่มโรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

กลุ่มโรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนสากล เราเชื่อมั่นว่าการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เป็นรากฐานสำคัญยิ่งในการสร้างความยั่งยืนให้แก่องค์กร พนักงาน ผู้ป่วย ตลอดจนสังคมโดยรวม

เพื่อเป็นการตอกย้ำเจตนารมณ์นี้ เราจึงได้จัดทำ "กระบวนการตรวจสอบสถานะสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน" เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น หลักการชี้นำของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGPs) อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Conventions) และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์หลัก

  • ระบุ ประเมิน และจัดการกับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของกลุ่มโรงพยาบาลฯ ทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรง โดยอ้อม และผลกระทบที่เกิดจากคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน อย่างเป็นระบบ ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ
  • บูรณาการหลักการเคารพสิทธิมนุษยชน เข้ากับกลยุทธ์ นโยบาย และกระบวนการทำงาน ของกลุ่มโรงพยาบาลฯ ในทุกระดับ เพื่อให้มั่นใจว่า การดำเนินงานทุกภาคส่วน สอดคล้องกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน
  • ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่เคารพสิทธิมนุษยชน ปลูกฝังจิตสำนึก และสร้างความตระหนักรู้ ให้กับพนักงาน ผู้บริหาร และผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ให้ตระหนักถึงความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
  • สร้างความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือ ในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยการเปิดเผยข้อมูล และรายงานความคืบหน้า ให้กับผู้มีส่วนได้เสีย อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และความไว้วางใจ ให้กับกลุ่มโรงพยาบาลฯ

กระบวนการตรวจสอบสถานะสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านนี้ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนหลัก

  1. การกำหนดนโยบายและพันธกรณี
  2. การระบุและประเมินผลกระทบ
  3. การบูรณาการเข้ากับนโยบายและกระบวนการ
  4. การจัดการความเสี่ยง
  5. การติดตามผล
  6. การสื่อสารและการเยียวยา

อ่านประกาศฉบับเต็ม